วัตถุมงคล ทุกคนคงคุ้นหูและเป็นที่รู้จักสำหรับหลายคน โดยเฉพาะคนที่ชื่นชอบ และเก็บสะสมวัตถุมงคล เครื่องรางของขลังอยู่แล้ว ก็คงไม่สงสัยมาก เพราะรู้จักความหมายดี ในแง่ของความเข้าใจภายในจิตใจ และความเชื่อความศรัทธา
วัตถุมงคล ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง เครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ
วัตถุมงคล ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 หมายถึง เครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ
วัตถุมงคลหรือเครื่องรางของขลังในเมืองไทยมีมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นพระเครื่อง,พระบูชา,เหรียญคณาจารย์,พระผง,พระกรุ, พระกริ่ง, พระกริ่งปวเรศ, ปลัดขิก, ผ้ายันต์, ตะกรุด, มีดหมอ เป็นต้น ล้วนเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างเสาะแสวงหามาบูชา ตามแต่ความชอบและความศรัทธาของผู้สะสม
จะพูดถึงพระเครื่องนั้นเป็นสิ่งที่เกิดจากความเชื่อความศรัทธาที่สร้างขึ้นและมีความสัมพันธ์ทางด้านศาสนา มีหลักฐานเป็นวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นมีอายุเก่าแก่เกือบ 2,000 ปี ในอดีตความเชื่อในเรื่องพระเครื่องคือ พระเครื่องเป็นของที่ควรเคารพแบบอนุสาวรีย์ สร้างบรรจุไว้ตามกรุเจดีย์ เพื่อหวังที่จะเป็นอานิสงส์ให้ผู้สร้างรุ่งเรืองในชาติหน้า และจะได้เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป ดังนั้น พระเครื่องในอดีตจึงเป็นพระพิมพ์ที่สร้างบรรจุไว้ในเจดีย์ มิใช่สร้างอย่างพระเครื่องในปัจจุบันที่มีลักษณะออกไปในทางของขลัง มีประวัติความเป็นมา และมีตำนานการสร้างที่ชัดเจน มีที่มาที่ไป มีหลักฐานบันทึกไว้เป็นตำราเป็นขั้นตอน ซึ่งถือได้ว่า เครื่องรางของขลังของไทย เป็นมรดกทางด้านวัฒนธรรมที่สำคัญ ที่อนุชนรุ่นหลังควรได้ศึกษาไว้ เพราะเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณบรรพบุรุษ ที่มีความเชี่ยวชาญในการนำศาสตร์ต่างๆมาสร้างเป็นวัตถุมงคล เครื่องรางของขลังไว้ให้คนรุ่นหลังมีไว้บูชาให้เกิดผลต่างๆ หรือไว้เป็นที่ระลึก
การสร้างพระเครื่องของไทยนั้น มีความเชื่อคติที่มาจากการรวบรวม เอาศาสตร์ต่างๆ หลายแขนงเข้าด้วยกัน ซึ่งเรียกศาสตร์นั้นว่า "วิชา" คำว่าวิชาในที่นี่หมายถึงวิชา ทางด้านไสยศาสตร์ คำว่าไสยศาสตร์นี้หมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยการนำพลังอำนาจที่เหนือธรรมชาติ ที่ไม่อาจจะพิสูจน์ได้ด้วยวิทยาศาสตร์มาใช้ ซึ่งการจำนำพลังงานจากธรรมชาติมาใช้ได้ก็ต้องมีความรู้เสียก่อนว่า พลังงานต่างๆที่มีอยู่ในโลกนี้ อยู่ในสิ่งใด ที่ไหนและนำมาใช้อย่างไรเป็นต้น และอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญก็คือ พลังอำนาจที่เกิดจากจิต หรือที่เรียกว่าพลังจิต นั้นเป็นของควบคู่กันเสมอ ในการใช้ไสยศาสตร์ เพื่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ฤทธิ์" หรือ "อิทธิฤทธิ์" สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นศรัธทาที่เกิดขึ้นในตัววัตถุมงคล และค่านิยมในวัตถุ สิ่งของ ที่กลุ่มคน หรือคนบางคนเชื่อว่า วัตถุหรือสิ่งของนั้นให้ผลอย่างใดอย่างหนึ่งในทางที่เป็นประโยชน์หรือเป็นคุณต่อผู้ที่ครอบครอง ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น
-ขับไล่ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย
-ดลบันดาลโชคลาภ
-คงกะพันชาตรี
-แคล้วคลาดปลอดภัย
-มีอำนาจ วาสนา
-หรือด้านเมตตา เป็นต้น
ซึ่งพระเครื่องนั้นเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือธรรมชาติ ซึ่งมีผลทางด้านจิตใจต่อผู้ที่ครอบครอง
ทุกวันนี้แค่เดินไปตลาดนัดเราก็สามารถพบเห็นวัตถุมงคลขายกันตามท้องตลาดได้แล้ว ไม่เหมือนสมัยก่อน ถ้าอยากจะเช่าพระก็ต้องไปตามตลาดพระเครื่องเท่านั้น แต่ตลาดนัดก็ต้องตาดีๆหน่อยนะ เพราะว่าจะเจอของปลอมหรือเปล่า อันนี้บอกไม่ได้ ปัจุบันตลาดวัตถุมงคลเหล่านี้ล้วนมีการขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งมีผู้ให้ความสนใจสะสมพระเครื่อง กันมากมาย คนหลากหลายอาชีพผันตัวเองเข้ามาอยู่ในแวดวงพระเครื่อง ทั้งเช่าหาสะสมเพราะความศรัทธาและซื้อขายแลกเปลี่ยนเป็นอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการ, นักธุรกิจ, หมอ, ทนายความ เป็นต้น เพราะปัจจุบันวัตถุมงคล เครื่องราง พระเครื่องถูกจัดว่าเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ธุระกิจพระเครื่องเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ.2496 เพราะถือว่ามีการเปิดร้านขายกันอย่างคึกคัก ที่บริเวณสนามหลวง ที่เราติดหูว่าท่าพระจันทร์ สืบเนื่องมาจากการพูดคุยของกลุ่มที่นิยมพระเครื่อง ที่มีการเล่าถึงพุทธคุณที่มีประสบการณ์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และเริ่มมีการเช่าพระ เครื่องเกิดขึ้น และนำไปสู่ธุรกิจพระเครื่องขึ้น ที่เราเรียกว่า พุทธพาณิชย์ และมีการขยายตัวจากตลาดกลางแจ้งไปสู่ห้างพันทิพย์พล่าซ่า ซึ่งเป็นแห้งแรกที่นำพระเครื่องเข้าไปอยู่ในก้างสรรพสินค้า เพราะว่าธุรกิจแผงพระ วัตถุมงคลมีการเพิ่มจำนวนมากขึ้น จนพื้นที่ท่าพระจันทร์ และที่อื่นๆค่อนข้างจะแออัด และเป็นการป้องกันอาชกรรมด้วย เพราะพระเครื่อง วัตถุมงคลเริ่มมีราคาสูง นักวิชาการด้านเศรฐกิจคาดการณ์เกี่ยวกับธุระกิจพระเครื่องว่า มีไม่ต่ำกว่า 5000 แผง และมีเงินหมุนเวียนในธุระกิจนี้จำนวนมหาศาล และมีการขยายตัวกันอย่างรวดเร็ว จึงมีการเก็บสะสมกันเสมือนเป็นสินค้า เพื่อหวังผลกำไรในอนาคต
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า มูลค่าของธุรกิจพระเครื่่อง
ปี 2546 ที่มีมูลค่าสูงเกือบ 10,000 ล้านบาท ปี 2548 ที่มีมูลค่าสูงเกือบ 20,000 ล้านบาท และปี 2550 ทำให้ธุรกิจพระเครื่องมีมูลค่าสูงถึง 40,000 ล้านบาท
เพราะเหตุนี้พระเครื่องจึงได้กลายเป็นสินค้าที่มีคุณค่าทางพาณิชย์สูง จากพระเครื่องมีคุณค่าทางด้านศรัทธาที่ไม่สามารถตีราคาเป็นจำนวนเงินได้ แต่ในปัจจุบันคุณค่าทางด้านเศรษฐกิจกลับเข้ามาตีราคาพระเครื่องเป็นจำนวนเงินเพิ่มขึ้นมาด้วย
ภาพถ่ายพระเครื่อง โดย ปิยะพงษ์ รักทะเล อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.